ให้วัคซีนด้วยเลเซอร์เพียงเสี้ยววินาที

 ด้วยวิธีการใหม่นี้ ยาและวัคซีนจะเข้าสู่ร่างกายของคุณด้วยความเร็วแสง
(ภาพจาก abc NEWS)

วิธีการใหม่เพื่อที่จะส่งยา วัคซีน หรือโมเลกุลต่างๆเข้าสู่เซลล์ด้วยความเร็วแสง อาจเป็นวิธีการรักษารูปแบบใหม่ในอนาคตข้างหน้านี้

เซลล์ของมนุษย์และสัตว์นั้นจะมีเยื่อหุ้มเซลล์ซึ่งจะยอมให้โมเลกุลที่เล็กกว่าช่องว่างของเยื่อหุ้มเซลล์ผ่านเข้าหรือออกได้ แต่ไวรัสจะมีสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเข็มที่สามารถเจาะผ่านเยื่อหุ้มเซลล์และปล่อยสารพันธุกรรมของมันเข้าสู่เซลล์ สารเคมีบางชนิดและกระแสไฟฟ้าก็สามารถทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เกิดช่องว่างได้

ที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นเทคนิคที่จะสามารถส่งโมเลกุลที่ต้องการเข้าสู่เซลล์ๆได้ แต่ทั้งนี้แต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อเสียต่างกันไป เช่นอาจเป็นวิธีที่มีความจำเพาะเจาะจง หรืออาจทำให้โมเลกุลบางชนิดที่ไม่ต้องการ อย่างเช่นรหัสพันธุกรรมของไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้

Mark Prausnitz นักวิทยาศาสตร์จาก Georgia Tech และทีมงาน จึงได้พัฒนาวิธีการใช้เลเซอร์ควบคู่กับการใช้วัสดุนาโน เพื่อเพิ่มข้อดีและลดข้อเสียจากวิธีดั้งเดิม โดยกระบวนการคือการใช้วัสดุนาโนคาร์บอน ซึ่งพวกเขาเรียกมันว่า soot ไปไว้ใกล้ๆกับเซลล์ที่ต้องการเจาะช่องว่าง จากนั้นปล่อยแสงเลเซอร์เป็นจังหวะให้กับ soot เพื่อให้เกิดความร้อนและเกิดฟองรอบๆ soot เมื่อหยุดปล่อยแสงเลเซอร์ฟองเหล่านี้จะยุบตัวอย่างรุนแรงจนเกิดคลื่นกระแทกชนเยื่อหุ้มเซลล์จนเกิดเป็นช่องว่างขึ้น ซึ่งใหญ่พอที่จะให้โมเลกุลผ่านเข้าไปได้ โดยกระบวนการนี้จะเกิดเพียงเสี้ยววินาที จากนั้นเซลล์จะทำการรักษาตัวเอง

จากการทดลองเซลล์ในห้องปฏิบัติการประมาณ 10% ตายเนื่องจากคลื่นกระแทกที่แรงเกินไป

Prausnitz กล่าวว่า ช่องว่างที่เกิดขึ้นสั้นๆนี้จะมีประโยชน์กับการใช้ยาสำหรับการรักษาแบบเคมีบำบัด การใช้ DNA สำหรับวัคซีนหรือวิศวพันธุกรรม

วิธีการใช้เลเซอร์เจาะช่องว่างเข้าสู่เซลล์นี้ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ อย่างไรก็ดีวิธีนี้จะยังไม่ถูกนำมาใช้ในตอนนี้ ถึงแม้ว่าจะทดลองสำหรับแล้วในห้องปฏิบัติการ แต่ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีก่อนที่วิธีนี้จะถูกรับรองให้ใช้กับมนุษย์ได้


ข้อมูลอ้างอิงจาก


http://news.discovery.com/tech/lasers-cells-drugs-vaccines.html

ยุงต้านเชื้อมาลาเรีย

 ภาพจาก iStockphoto

นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างยุงต้านเชื้อมาลาเรียขึ้นเพื่อหวังหยุดวงจรการติดเชื้อมาลาเรียจากยุงป่าสู่มนุษย์

ประมาณกันว่ามนุษย์ 250 ล้านคน ติดเชื้อปรสิตพลาสโมเดียม ( Plasmodium) หรือมาลาเรีย 4 ชนิดต่อปีโดยการติดเชื้อมาจากยุง Anopheles เพศเมีย ในขณะที่ยุงดูดเลือดจากร่างกายก็จะแพร่เชื้อปรสิตพลาสโมเดียมประมาณ 40 ตัว เข้าสู่กระแสเลือด

Michael Riehle ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Arizona และคณะ ได้ใช้ความรู้ทางพันธุวิศวกรรมพัฒนายีนส์ที่ชื่อว่า Akt ซึ่งเชื้อปรสิตพลาสโมเดียม ( Plasmodium) เข้าจู่โจมยีนส์ชนิดนี้ ทำให้อายุขัย ระบบภูมิคุ้มกันและระบบการย่อยอาหารของยุงแย่ลง โดยการใส่ยีนส์ Akt ที่พัฒนาขึ้นใหม่ลงในไข่ของยุง Anopheles stephensi ซึ่งเป็นยุงที่เป็นพาหะนำเชื้อ

หลังจากที่ทำให้ยุงที่ถูกใส่ยีนส์ Akt ที่ดัดแปลงแล้วติดเชื้อปรสิตพลาสโมเดียมและปล่อยให้เชื้อพัฒนา นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการตรวจยุงเหล่านั้นและไม่พบร่องรอยของเชื้อปรสิตพลาสโมเดียม แต่กระบวนการกำจัดเชื้อปรสิตพลาสโมเดียมจากยีนส์ Akt ดัดแปลง ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

โดยปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันของยุงตามธรรมชาตินั้นสามารถกำจัดเชื้อปรสิตมาลาเรียได้ แต่การทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของยุงแข็งแกร่งขึ้นเพื่อจะทำให้แน่ใจว่าสามารถกำจัดเชื้อปรสิตได้ทุกชนิด

Michael Riehle กล่าวว่าเราจะไม่คำนึงถึงกระบวนการทำงานของยีนส์ดัดแปลงตอนนี้ เพราะยังคงต้องใช้เวลาอีกทศวรรษกับการพัฒนายุงที่อยู่ในป่าที่มีจำนวนมากมาย ทีมพัฒนาของเขาจำเป็นต้องหาวิธีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการเพิ่มจำนวนยุงที่มียีนส์ดัดแปลงนี้ให้มีจำนวนมาก

ข้อมูลอ้างอิง

http://news.discovery.com/tech/malaria-proof-mosquito.html

ขับรถบนอากาศด้วย Flying car

 ภาพจาก Terrafugia

บริษัท Terrafugia ผลิตรถบินที่มีชื่อว่า Transition โดยรถนี้มี 2 ที่นั่ง และสามารถเก็บปีกเมื่อวิ่งอยู่บนถนนได้ โดยเมื่อวิ่งบนถนนจะใช้น้ำมัน 30 ไมล์ต่อแกลลอนหรือประมาณ 12.75 กิโลเมตรต่อลิตร มันสามารถบินได้ไกลกว่า 400ไมล์ และมีความเร็วอยู่ที่ 115 ไมล์ต่อชั่วโมง

สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration - FAA) รับรอง Transition ว่าเป็นเครื่องบินเล็กน้ำหนักเบา สำหรับงานกีฬา (Light Sport Aircraft) โดยที่ผู้ขับขี่หรือนักบินจะต้องมีชั่วโมงบินอย่างน้อย 20 ชั่วโมงจึงจะได้รับใบอนุญาตให้ขับขี่หรือบินได้

เสนอราคาอยู่ที่ 194,000 ดอลล่าร์ โดยจะต้องสั่งจองและดาวน์ก่อน 10,000 ดอลล่าร์

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.terrafugia.com/index.html
http://news.discovery.com/tech/flying-car-gets-faa-approval.html
Category: 0 comments

 

Translate

Followers