ยุงต้านเชื้อมาลาเรีย

 ภาพจาก iStockphoto

นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างยุงต้านเชื้อมาลาเรียขึ้นเพื่อหวังหยุดวงจรการติดเชื้อมาลาเรียจากยุงป่าสู่มนุษย์

ประมาณกันว่ามนุษย์ 250 ล้านคน ติดเชื้อปรสิตพลาสโมเดียม ( Plasmodium) หรือมาลาเรีย 4 ชนิดต่อปีโดยการติดเชื้อมาจากยุง Anopheles เพศเมีย ในขณะที่ยุงดูดเลือดจากร่างกายก็จะแพร่เชื้อปรสิตพลาสโมเดียมประมาณ 40 ตัว เข้าสู่กระแสเลือด

Michael Riehle ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Arizona และคณะ ได้ใช้ความรู้ทางพันธุวิศวกรรมพัฒนายีนส์ที่ชื่อว่า Akt ซึ่งเชื้อปรสิตพลาสโมเดียม ( Plasmodium) เข้าจู่โจมยีนส์ชนิดนี้ ทำให้อายุขัย ระบบภูมิคุ้มกันและระบบการย่อยอาหารของยุงแย่ลง โดยการใส่ยีนส์ Akt ที่พัฒนาขึ้นใหม่ลงในไข่ของยุง Anopheles stephensi ซึ่งเป็นยุงที่เป็นพาหะนำเชื้อ

หลังจากที่ทำให้ยุงที่ถูกใส่ยีนส์ Akt ที่ดัดแปลงแล้วติดเชื้อปรสิตพลาสโมเดียมและปล่อยให้เชื้อพัฒนา นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการตรวจยุงเหล่านั้นและไม่พบร่องรอยของเชื้อปรสิตพลาสโมเดียม แต่กระบวนการกำจัดเชื้อปรสิตพลาสโมเดียมจากยีนส์ Akt ดัดแปลง ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

โดยปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันของยุงตามธรรมชาตินั้นสามารถกำจัดเชื้อปรสิตมาลาเรียได้ แต่การทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของยุงแข็งแกร่งขึ้นเพื่อจะทำให้แน่ใจว่าสามารถกำจัดเชื้อปรสิตได้ทุกชนิด

Michael Riehle กล่าวว่าเราจะไม่คำนึงถึงกระบวนการทำงานของยีนส์ดัดแปลงตอนนี้ เพราะยังคงต้องใช้เวลาอีกทศวรรษกับการพัฒนายุงที่อยู่ในป่าที่มีจำนวนมากมาย ทีมพัฒนาของเขาจำเป็นต้องหาวิธีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการเพิ่มจำนวนยุงที่มียีนส์ดัดแปลงนี้ให้มีจำนวนมาก

ข้อมูลอ้างอิง

http://news.discovery.com/tech/malaria-proof-mosquito.html

0 comments:

Post a Comment

 

Translate

Followers