ส่วนหนึ่งของเราอาจมาจากมนุษย์ "นีอันเดอร์ทัล"

ภาพจำลองมนุษย์นีอันเดอร์ทัล (ภาพประกอบจาก American Museum of Natural History)

งานวิจัยชิ้นล่าสุดของทีมวิจัยนานาชาติ นำโดย "สวานเต ปาโบ" จากสถาบันวิวัฒนาการและมานุษยวิทยา แมกซ์ พลังก์ (Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology) ที่เผยแพร่ในวารสารไซน์ (Science) ฉบับเมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา เผยข้อมูลที่บอกให้เรารู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ยุคปัจจุบัน และเผ่าพันธุ์นีอันเดอร์ทัล

ริชาร์ด กรีน หนึ่งในทีมวิจัยถอดรหัสจีโนมนีอันเดอร์ทัล โชว์ฟอสซิลกะโหลกและ
กระดูกของมนุษย์นีอันเดอร์ทัล (ภาพประกอบจาก AFP)

ทีมวิจัยได้สกัดตัวอย่างดีเอ็นเอ จากโครงกะดูกมนุษย์นีอันเดอร์ทัลอายุ 4 หมื่นปี จำนวน 3 ร่าง ที่พบในถ้ำแห่งหนึ่งของประเทศโครเอเชีย และถอดรหัสจีโนมที่มีมากกว่า 3 ล้านรหัส (นิวคลีโอไทด์) และเมื่อเปรียบเทียบกับจีโนมของมนุษย์ยุคปัจจุบัน พบว่าชาวยุโรปและเอเชียมีจีโนมเหมือนนีอันเดอร์ทัลประมาณ 1-4%

ต้นกำเนิดนีอันเดอร์ทัล

ภาพแสดงเผ่าพันธุ์ต่างๆของมนุษย์

นีอันเดอร์ทัล หรือ โฮโม นีอันเดอร์ทัลเอนซิส (Homo neanderthalensis) คือมนุษย์สปีชีส์หนึ่งในสกุลโฮโม (Homo) ที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่มีวิวัฒนาการใกล้ชิดกับ โฮโม ซาเปียนส์ (Homo sapiens) สปีชีส์ของมนุษย์ยุคใหม่ หรือมนุษย์ยุคปัจจุบันมากที่สุด โดยมีบรรพบุรุษร่วมกันอยู่ในแอฟริกาเมื่อประมาณ 5 แสนปีก่อน

ฟอสซิลของนีอันเดอร์ทัลถูกพบครั้งแรกเมื่อปี 2372 ในเมือง Engis ประเทศเบลเยียม และต่อมาในปี 2391 พบฟอสซิลเพิ่มเติมอีกในเขตยิบรอลตาร์ ทว่าในขณะนั้นยังไม่มีใครรู้ว่าโครงกระดูกมนุษย์โบราณที่พบนั้นเป็นมนุษย์ อีกสปีชีส์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว กระทั่งการค้นพบฟอสซิล "นีอันเดอร์ทัล 1" (Neanderthal 1) อายุ 4 หมื่นปี ในประเทศเยอรมนี เมื่อปี 2399 และได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้เมื่อปี 2407 หลังจากนั้นก็มีการค้นพบฟอสซิลนีอันเดอร์ทัลเพิ่มขึ้นในหลายประเทศทั้งใน ยุโรป และตะวันออกกลาง

ข้อสงสัยในต้นกำเนิดที่แท้จริง


จากหลักฐานการค้นพบซาก ดึกดำบรรพ์ทำให้เราทราบว่า ต้นตระกูลมนุษย์อย่างเราๆ ซึ่งก็คือมนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon) ในช่วงที่ได้เดินทางอพยพเขามาถึงยุโรป ก็ได้มีการบุกรุกเข้าไปในเขตของมนุษย์นีอันเดอร์ทัล ซึ่งได้อาศัยอยู่ทางตะวันตกของทวีปเอเชียเมื่อประมาณ 45,000 ปีมาแล้ว เมื่อเวลาผ่านมาเพียงแค่ 10,000-15,000 ปี เท่านั้นมนุษย์โครมันยองก็ได้แพร่กระจายไปจนทั่วยุโรปตะวันตกและในช่วงเลานี้เองที่มนุษย์นีอันเดอร์ทัล ได้สูญหายจากไปจากโลกใบนี้ คำถามที่ยังถกเถียงกันอยู่จากเหตุการณ์นี้ก็คือ มนุษย์ในยุคปัจจุบันมียีนของมนุษย์นีอันเดอร์ทัล หลงเหลืออยู่หรือไม่

ในปี 1998 ฝ่ายที่สนับสนุนและเชื่อว่ามีการผสมข้ามสายพันธุ์กันก็ชูประเด็น ในเรื่องการค้นพบโครงกระดูกเด็กผู้ชายในประเทศโปรตุเกส ซึ่งโครงกระดูกนี้มีลักษณะร่วมกันของมนุษย์โครมันยองและมนุษย์นีอันเดอร์ทัล และเมื่อทำการตรวจสอบอายุก็พบว่ามีอายุประมาณ 24,500 ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มนุษย์นีอันเดอร์ทัล ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว และแล้วสิ่งที่จะช่วยพิสูจน์ในเรื่องนี้ได้ก็น่าจะเป็นการพิสูจน์ดีเอ็นเอ แต่ก็ยังมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับทฤษฎีเกี่ยวกับการผสมข้ามพันธุ์ใน เรื่องนี้กันอยู่

มีการนำดีเอ็นเอในไมโทคอนเดรียของมนุษย์นีอันเดอร์ทัล และมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันมาเปรียบเทียบกันก็พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างชัดเจน แต่คนที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ก็ยังเชื่อว่าระยะเวลา 30,000 ปีที่ผ่านมาของการวิวัฒนาการจะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นการเปรียบเทียบจริงๆ ควรทำการเปรียบเทียบดีเอ็นเอของทั้ง 3 กลุ่ม คือ มนุษย์ปัจจุบัน, นีอันเดอร์ทัล, และโครมันยอง

เมื่อเห็นพ้องต้องกันว่าต้องเปรียบเทียบดีเอ็นเอในไมโทคอนเดรียของทั้ง 3 กลุ่ม ต่อมาก็เลยทำการเปรียบเทียบดีเอ็นเอโดยนำดีเอ็นเอของชาวยุโรป 60 คน, ที่ไม่ใช่คนยุโรปอีก 20 คน, มนุษย์นีอันเดอร์ทัล 4 คน, มนุษย์โครมันยอง 3 คน (1 ตัวอย่างมาจากออสเตรเลีย มีอายุประมาณ 40,000 ปี และอีก 2 ตัวอย่างมาจากอิตาลี)

ผลการทดลองเปรียบเทียบพบว่าดีเอ็นเอในไมโทคอนเดรียของมนุษย์นีอันเดอร์ทัล จะแตกต่างจากมนุษย์ปัจจุบัน 23-28 คู่เบสต่อการทดสอบ 360 ครั้ง ซึ่งความแตกต่างเท่านี้ก็พอจะทำให้แยกมนุษย์ทั้ง 2 กลุ่มออกจากกันได้โดยเด็ดขาด แต่ดีเอ็นเอในไมโทคอนเดรียมนุษย์โครมันยองและมนุษย์ในยุคปัจจุบันกลับมีลักษณะที่คล้ายกันแยกออกจากกันได้ไม่ชัดเจน จากจุดนี้เองที่ทำให้ เกิดข้อคัดค้านว่ามนุษย์นีอันเดอร์ทัล ไม่ได้เป็นต้นตระกูลของมนุษย์ในปัจจุบัน

มีข้อโต้แย้งที่ว่า hominids (สิ่งมีชีวิตตระกูลคน ได้แก่ มนุษย์ และลิงไม่มีหาง) ทั้ง 2 สายพันธุ์ คือมนุษย์โครมันยองและมนุษย์นีอันเดอร์ทัล มาอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ติดต่อถึงกัน โดยธรรมชาติแล้วก็น่าจะมีการผสมข้ามสายพันธุ์กันเกิดขึ้น

แม้ว่ากำเนิดที่แท้จริงของมนุษย์ยุคปัจจุบันจะยังไม่กระจ่างชัด แต่จากหลักฐานฟอสซิลและหลักฐานทางพันธุศาสตร์ ทำให้ทฤษฎี "ออกจากแอฟริกา" (Out of Africa) ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ มากกว่าทฤษฎีที่ว่า มนุษย์ยุคใหม่วิวัฒนาการขึ้นพร้อมๆ กันทั่วโลก (Multiregional)

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามนุษย์ยุคใหม่สืบเผ่าพันธุ์โดยตรงมาจาก ออ สเตรโลพิเทคัส แอฟริกานัส (Australopithecus africanus) ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 2-3 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของ โฮโม อีเรกตัส และต่อมาแตกสายวิวัฒนาการเป็น โฮโม นีอันเดอร์ทัล และ โฮโม ซาเปียนส์ ซึ่งเป็นสปีชีส์เดียวในสกุลโฮโมที่ยังมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบัน

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000065820
http://www.ipst.ac.th/biology/Bio-Articles/mag-content15.html
http://nexian07.blogspot.com/

0 comments:

Post a Comment

 

Translate

Followers