ให้วัคซีนด้วยเลเซอร์เพียงเสี้ยววินาที

 ด้วยวิธีการใหม่นี้ ยาและวัคซีนจะเข้าสู่ร่างกายของคุณด้วยความเร็วแสง
(ภาพจาก abc NEWS)

วิธีการใหม่เพื่อที่จะส่งยา วัคซีน หรือโมเลกุลต่างๆเข้าสู่เซลล์ด้วยความเร็วแสง อาจเป็นวิธีการรักษารูปแบบใหม่ในอนาคตข้างหน้านี้

เซลล์ของมนุษย์และสัตว์นั้นจะมีเยื่อหุ้มเซลล์ซึ่งจะยอมให้โมเลกุลที่เล็กกว่าช่องว่างของเยื่อหุ้มเซลล์ผ่านเข้าหรือออกได้ แต่ไวรัสจะมีสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเข็มที่สามารถเจาะผ่านเยื่อหุ้มเซลล์และปล่อยสารพันธุกรรมของมันเข้าสู่เซลล์ สารเคมีบางชนิดและกระแสไฟฟ้าก็สามารถทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เกิดช่องว่างได้

ที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นเทคนิคที่จะสามารถส่งโมเลกุลที่ต้องการเข้าสู่เซลล์ๆได้ แต่ทั้งนี้แต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อเสียต่างกันไป เช่นอาจเป็นวิธีที่มีความจำเพาะเจาะจง หรืออาจทำให้โมเลกุลบางชนิดที่ไม่ต้องการ อย่างเช่นรหัสพันธุกรรมของไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้

Mark Prausnitz นักวิทยาศาสตร์จาก Georgia Tech และทีมงาน จึงได้พัฒนาวิธีการใช้เลเซอร์ควบคู่กับการใช้วัสดุนาโน เพื่อเพิ่มข้อดีและลดข้อเสียจากวิธีดั้งเดิม โดยกระบวนการคือการใช้วัสดุนาโนคาร์บอน ซึ่งพวกเขาเรียกมันว่า soot ไปไว้ใกล้ๆกับเซลล์ที่ต้องการเจาะช่องว่าง จากนั้นปล่อยแสงเลเซอร์เป็นจังหวะให้กับ soot เพื่อให้เกิดความร้อนและเกิดฟองรอบๆ soot เมื่อหยุดปล่อยแสงเลเซอร์ฟองเหล่านี้จะยุบตัวอย่างรุนแรงจนเกิดคลื่นกระแทกชนเยื่อหุ้มเซลล์จนเกิดเป็นช่องว่างขึ้น ซึ่งใหญ่พอที่จะให้โมเลกุลผ่านเข้าไปได้ โดยกระบวนการนี้จะเกิดเพียงเสี้ยววินาที จากนั้นเซลล์จะทำการรักษาตัวเอง

จากการทดลองเซลล์ในห้องปฏิบัติการประมาณ 10% ตายเนื่องจากคลื่นกระแทกที่แรงเกินไป

Prausnitz กล่าวว่า ช่องว่างที่เกิดขึ้นสั้นๆนี้จะมีประโยชน์กับการใช้ยาสำหรับการรักษาแบบเคมีบำบัด การใช้ DNA สำหรับวัคซีนหรือวิศวพันธุกรรม

วิธีการใช้เลเซอร์เจาะช่องว่างเข้าสู่เซลล์นี้ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ อย่างไรก็ดีวิธีนี้จะยังไม่ถูกนำมาใช้ในตอนนี้ ถึงแม้ว่าจะทดลองสำหรับแล้วในห้องปฏิบัติการ แต่ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีก่อนที่วิธีนี้จะถูกรับรองให้ใช้กับมนุษย์ได้


ข้อมูลอ้างอิงจาก


http://news.discovery.com/tech/lasers-cells-drugs-vaccines.html

ยุงต้านเชื้อมาลาเรีย

 ภาพจาก iStockphoto

นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างยุงต้านเชื้อมาลาเรียขึ้นเพื่อหวังหยุดวงจรการติดเชื้อมาลาเรียจากยุงป่าสู่มนุษย์

ประมาณกันว่ามนุษย์ 250 ล้านคน ติดเชื้อปรสิตพลาสโมเดียม ( Plasmodium) หรือมาลาเรีย 4 ชนิดต่อปีโดยการติดเชื้อมาจากยุง Anopheles เพศเมีย ในขณะที่ยุงดูดเลือดจากร่างกายก็จะแพร่เชื้อปรสิตพลาสโมเดียมประมาณ 40 ตัว เข้าสู่กระแสเลือด

Michael Riehle ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Arizona และคณะ ได้ใช้ความรู้ทางพันธุวิศวกรรมพัฒนายีนส์ที่ชื่อว่า Akt ซึ่งเชื้อปรสิตพลาสโมเดียม ( Plasmodium) เข้าจู่โจมยีนส์ชนิดนี้ ทำให้อายุขัย ระบบภูมิคุ้มกันและระบบการย่อยอาหารของยุงแย่ลง โดยการใส่ยีนส์ Akt ที่พัฒนาขึ้นใหม่ลงในไข่ของยุง Anopheles stephensi ซึ่งเป็นยุงที่เป็นพาหะนำเชื้อ

หลังจากที่ทำให้ยุงที่ถูกใส่ยีนส์ Akt ที่ดัดแปลงแล้วติดเชื้อปรสิตพลาสโมเดียมและปล่อยให้เชื้อพัฒนา นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการตรวจยุงเหล่านั้นและไม่พบร่องรอยของเชื้อปรสิตพลาสโมเดียม แต่กระบวนการกำจัดเชื้อปรสิตพลาสโมเดียมจากยีนส์ Akt ดัดแปลง ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

โดยปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันของยุงตามธรรมชาตินั้นสามารถกำจัดเชื้อปรสิตมาลาเรียได้ แต่การทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของยุงแข็งแกร่งขึ้นเพื่อจะทำให้แน่ใจว่าสามารถกำจัดเชื้อปรสิตได้ทุกชนิด

Michael Riehle กล่าวว่าเราจะไม่คำนึงถึงกระบวนการทำงานของยีนส์ดัดแปลงตอนนี้ เพราะยังคงต้องใช้เวลาอีกทศวรรษกับการพัฒนายุงที่อยู่ในป่าที่มีจำนวนมากมาย ทีมพัฒนาของเขาจำเป็นต้องหาวิธีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการเพิ่มจำนวนยุงที่มียีนส์ดัดแปลงนี้ให้มีจำนวนมาก

ข้อมูลอ้างอิง

http://news.discovery.com/tech/malaria-proof-mosquito.html

ขับรถบนอากาศด้วย Flying car

 ภาพจาก Terrafugia

บริษัท Terrafugia ผลิตรถบินที่มีชื่อว่า Transition โดยรถนี้มี 2 ที่นั่ง และสามารถเก็บปีกเมื่อวิ่งอยู่บนถนนได้ โดยเมื่อวิ่งบนถนนจะใช้น้ำมัน 30 ไมล์ต่อแกลลอนหรือประมาณ 12.75 กิโลเมตรต่อลิตร มันสามารถบินได้ไกลกว่า 400ไมล์ และมีความเร็วอยู่ที่ 115 ไมล์ต่อชั่วโมง

สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration - FAA) รับรอง Transition ว่าเป็นเครื่องบินเล็กน้ำหนักเบา สำหรับงานกีฬา (Light Sport Aircraft) โดยที่ผู้ขับขี่หรือนักบินจะต้องมีชั่วโมงบินอย่างน้อย 20 ชั่วโมงจึงจะได้รับใบอนุญาตให้ขับขี่หรือบินได้

เสนอราคาอยู่ที่ 194,000 ดอลล่าร์ โดยจะต้องสั่งจองและดาวน์ก่อน 10,000 ดอลล่าร์

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.terrafugia.com/index.html
http://news.discovery.com/tech/flying-car-gets-faa-approval.html
Category: 0 comments

เปลี่ยนถุงพลาสติกให้เป็นพลังงาน

  ภาพจาก iStockphoto

การวิจัยของ Vilas Pol แห่ง Argonne National Laboratory ได้ทำให้ถุงพลาสติกที่เป็นขยะตามท้องถนนนั้นกลายเป็นวัสดุที่มีค่าและสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับผลิตภัณฑ์หลายอย่างเช่น ตลับหมึก น้ำมันหล่อลื่น แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์

การรีไซเคิลพลาสติกนั้นเป็นเรื่องยากเนื่องจากมีความแตกต่างกันตามชนิดของพลาสติก แต่ Vilas Pol ได้เปลี่ยนวิธีคิดโดยการทำให้พลาสติกนั้นเสียสภาพด้วยความร้อนจนเปลี่ยนเป็นเม็ดคาร์บอนบริสุทธิ์ขนาดเล็กขนาดเพียงไม่กี่ไมครอนเท่านั้น

ผงคาร์บอนเหล่านี้สามารถนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับผลิตภัณฑ์หลายอย่างเช่นยางรถยนต์ เมื่อเติมเม็ดคาร์บอนลงไปจะทำให้เกิดการกระจายความร้อน ทำให้ลดความร้อนจากแรงเสียดทานที่เกิดจากพื้นถนนได้ และป้องกันไม่ให้ยางหลอมตัว ใช้เป็นขั้วอาโนดในแบตเตอรี่

โดยกระบวนการทำให้พลาสติกเสียสภาพนั้น Vilas Pol กล่าวว่าเขาได้ใส่พลาสติกลงในเตาที่ให้ความร้อนสูงจนกระทั่งพลาสติกเปลี่ยนสภาพเป็นธาตุต่างๆ โดยในเตานั้นบรรจุด้วยก๊าซเฉื่อย ก๊าซไฮโดรเจนที่สลายตัวมาจากพลาสติกจะถูกเก็บไว้และนำไปเป็นเชื้อเพลิงต่อไป
ส่วนผงคาร์บอนซึ่งมีรูปร่างเป็นทรงกลมขนาดเล็กนั้น Nishkamraj Deshpande จาก United Space Alliance กล่าวว่ามันมีราคาแพงเมื่อผลิตด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน วิธีการนี้จึงเป็นแหล่งต้นทุนราคาถูกและทำให้ตลาดที่ต้องการขยายตัวเพิ่มขึ้น

ปัจจุบัน Vilas Pol กำลังพัฒนากระบวนการเปลี่ยนพลาสติกในระดับที่ใหญ่ขึ้นเพื่อนำไปสู่การผลิตระดับการค้า

ข้อมูลอ้างอิง


http://news.discovery.com/earth/plastic-bags-power-recycling.html
Category: 1 comments

ค้นพบต่อไทรที่มีอายุมากที่สุดในโลก

ซากต่อไทรที่อายมากที่สุดในโลกถูกค้นพบที่ Isle of Wight ซึ่งมีอายุราว 34 ล้านปี ฟอสซิลชองตัวต่อนี้มีรูปร่างคล้ายกับตัวต่อสายพันธุ์ปัจจุบัน

ฟอสซิลนี้ไม่ใช่สิ่งใหม่ มันถูกค้นพบตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1920 แต่ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นฟอสซิลของมด การวิเคราะห์ครั้งใหม่ของ Dr.Steve Compton ได้สรุปว่ามันคือต่อไทร

ภาพบน : ฟอสซิลของต่อไทรซึ่งถูกเข้าใจผิดว่าเป็นมด ลูกศรสีแดงคือส่วนที่ใช้เก็บเกสรดอกไม้
ภาพล่าง : ภาพจากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอก (SEM) ของต่อไทรปัจจุบัน
ลูกศรสีแดงคือส่วนที่ใช้เก็บเกสรดอกไม้
(ภาพลิขสิทธิ์จาก Natural History Museum, London)

Dr.Steve Compton แห่งมหาวิทยาลัย Leeds ประเทศองกฤษกล่าวว่า "พวกเราเชื่อว่าต่อไทรและต้นไทรมีวิวัฒนาการร่วมกันมานานกว่า 60 ล้านปีมาแล้ว และตอนนี้พวกเราก็ได้ค้นพบฟอสซิลของต่อไทรเป็นการยืนยันว่าพวกเราเข้าใกล้ความจริงมากขึ้น แม้ว่าพวกเราจะคิดอยู่เสมอว่าสิ่งต่างๆบนโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่ฟอสซิลนี้ได้เป็นตัวอย่างให้กับเราว่ามีบางสิ่งยังคงไม่เปลี่ยนแปลงแม้ว่าเวลาจะผ่านมา 10 ล้านปีแล้วก็ตาม"

ต่อไทรเป็นแมลงขนาดเล็ก วัดความยาวได้เพียง 0.06 นิ้ว (1.5 มิลลิเมตร) ต่อไทรและต้นไทรนั้นอยู่ร่วมกัน ต้นไทร 1ใน 800 สายพันธุ์จะถูกผสมเกสรโดยต่อไทรเพียง 1 ถึง 2 สายพันธุ์เท่านั้น

จากการเปรียบเทียบระหว่างฟอสซิลนี้กับตัวอย่างอำพันที่มีอายุราว 20 ล้านปีโดยกลุ่มของ Dr. Compton นั้นปรากฎว่าแมลงทั้งคู่มีรูปร่างเหมือนกันกับต่อสายพันธุ์ปัจจุบัน

ต่อไทรนั้นวางไข่ภายในดอกไทร โดยต่อไปเกาะเกสรภายในดอกไม้ ทำให้เกสรนั้นติดใต้ลำตัวของต่อ และเมื่อต่อไทรบินไปยังดอกไม้ของไทรต้นอื่นเพื่อหาที่วางไข่ ก็จะเกิดการผสมเกสรขึ้น

กลุ่มของ Dr. Compton ยังได้ค้นพบเกสรภายในฟอสซิลและอำพันของตัวต่อ โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่ามีเการผสมเกสรมาตั้งแต่ 34 ล้านปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ปัจจุบันต้นไทรได้พัฒนาการสืบพันธุ์เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปใน Isle of Wight โดยสัตว์ต่างๆกินผลของต้นไทรและแพร่ขยายเมล็ดไทรผ่านทางอุจจาระ ต้นไทรเป็นแหล่งอาหารหลักให้แก่นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดต่างๆมากที่สุด ดังนั้นการศึกษาเพื่อให้รู้จักเกี่ยวกับพืชเหล่านี้และแมลงที่ผสมเกสรจึงเป็นการยืนยันถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปจากยุคก่อน

ข้อมูลอ้างอิงจาก

http://www.nhm.ac.uk/

http://www.sciencedaily.com/releases/2010/06/100615191649.htm
http://news.yahoo.com/s/livescience/20100616/sc_livescience/worldsoldestfigwaspdiscovered

เปลี่ยนความร้อนจากร่างกายสู่พลังงานไฟฟ้า

ความคิดที่จะเปลี่ยนพลังงานจากร่างกายมนุษย์สู่กระแสไฟฟ้าเป็นที่ล่อใจแก่นักวิทยาศาสตร์มาเป็นเวลสหลายปี ผู้ชายปกติจะสามารถปลดปล่อยพลังงานออกมาได้ถึง 100 ถึง 200 วัตต์ ซึ่งเป็นพลังงานที่เพียงพอสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์บางชนิด เช่น เครื่องเกม นินเทนโดวี (Nintendo Wii) บริโภคพลังงาน 14 วัตต์, โทรศัพท์มือถือ (บริโภคพลังงานประมาณ 1 วัตต์) และคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค (45 วัตต์) 80% ของพลังงานในร่างกายถูกคายออกมาภายนอก แต่มีในเพียงหนังวิทยาศาสตร์เท่านั้นเช่น แมททริกซ์ ที่คุณจะสามารถเห็นพลังงานเหล่านี้

ปัจจุบันเทคโนโลยีการเปลี่ยนความร้อนจากร่างกายสู่พลังงานไฟฟ้าสามารถผลิตได้เพียงไม่กี่มิลลิวัตต์เท่านั้น ซึ่งพอใช้สำหรับตรวจจับและสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจเท่านั้น บางคนอาจจะยังจำนาฬิกา Seiko Thermic ได้ โดยทำงานอย่างต่อเนื่องด้วยความร้อนจากร่างกายเพียง 1 ไมโครวัตต์ ซึ่งเป็นที่โด่งดังในปี 1998 แต่ Seiko ได้ผลิตออกมาเพียง 500 เรือนเท่านั้นก่อนที่จะยุติการผลิต ถ้าคุณได้เป็นเจ้าของ Seiko Thermic คุณจะไม่กังวลถึงการชาร์จแบตเตอรี่เลยตราบเท่าที่สิ่งแวดล้อมภายนอกนั้นเย็นกว่าตัวคุณ

การพัฒนาในปัจจุบันทางด้านวิศวกรรมนาโนเทคโนโลยีให้ความสำคัญกับเครื่องมือที่ใช้พลังงานจากร่างกายมากขึ้น เทคโนโลยีพื้นฐานภายใต้แนวคิดการเปลี่ยนความร้อนจากร่างกายสู่พลังงานไฟฟ้าด้วยเครื่องมือ thermoelectric โดยปกติวัสดุตัวนำบางๆนำประโยชน์จากความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่าง 2 ด้านของแผ่นวัสดุเพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้า ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Seebeck effect และอุปกรณ์นี้สามารถทำงานในทิศทางตรงกันข้ามได้ นั่นหมายความว่าถ้าคุณให้พลังงานไฟฟ้าแก่อุปกรณ์ ด้านหนึ่งของแผ่นวัสดุจะเย็นเป็นพิเศษและอีกด้านจะร้อนขึ้นมาก ถ้าคุณเป็นเจ้าของตู้เย็นที่ใช้พลังงานจากสาย USB คุณอาจจะได้เป็นเจ้าของเครื่อง thermoelectric ด้วย โดยตู้เย็นนี้ทำงานในทิศทางตรงกันข้ามเท่านั้น

ตู้เย็นระบบ thermoelectric (ภาพจาก hoobly.com)

อุปกรณ์ thermoelectric เมื่อติดไว้บนผิวหนังจะสร้างพลังงานตราบเท่าที่อากาศโดยรอบนั้นมีอุณหภูมิต่ำกว่าร่างกาย วัสดุแปะติดขนาด 1 ตารางเซนติเมตร สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 30 ไมโครวัตต์ ถ้าติดอุปกรณ์เหล่านี้ติดๆกันจะสามารถรวมพลังงานที่ถูกเก็บเอาไว้ได้

ในปี 2006 Vladimir Leonov และ Ruud J.M. Vullers จากประเทศเบลเยี่ยมได้สร้างเซ็นเซอร์วัดออกซิเจนในเลือดรุ่นทดลองหรือเรียกว่า Pulse oxymeter โดยใช้พลังงานจากร่างกาย มีขนาดเท่ากับนาฬิกาข้อมือซึ่งประสบความสำเร็จในการนำไปใช้กับผู้ป่วย มันสามารถสร้างพลังงานได้ประมาณ 100 ไมโครวัตต์ในขณะที่ผู้ป่วยหลับและเพิ่มขึ้นถึง 600 ไมโครวัตต์เมื่อตื่นนอนและเคลื่อนไหว พวกเข้าได้ออกแบบอุปกรณ์นี้ให้สามารถบันทึกข้อมูลด้วยการใช้พลังงานที่ต่ำกว่า 62 ไมโครวัตต์ เมื่อเทียบกับเครื่อง pulse oxymeter ทั่วไปที่ต้องใช้พลังงานถึง 10 มิลลิวัตต์

ในปี 2007 ทั้งคู่ได้สร้างเครื่องวัดคลื่นสมอง (Electroencephalograph, EGG) โดยใช้พลังงานจากร่างกาย Leonov และ Vullers ได้เริ่มออกแบบเครื่องวัดคลื่นสมองใหม่เพื่อลดการใช้พลังงานลง เครื่องวัดคลื่นสมองควรจะต้องมีการส่งข้อมูลไร้สายสู่คอมพิวเตอร์ด้วย ดังนั้นมันจึงบริโภคพลังงานไฟฟ้ามากกว่ารุ่นทดสอบของพวกเขา

เครื่อง EGG ระบบ thermoelectric แบบไร้สาย
(ภาพจาก imec.be)

รุ่นทดสอบนั้นมีขนาด 50 ตารางเซนติเมตร ถูกติดไว้บนหน้าผากของคนคนหนึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 3500 ไมโครวัตต์ นั่นเป็นเรื่องที่เยี่ยมมาก แต่ก็นำมาซึ่งผลข้างเคียงซึ่งบริเวณที่ถูกเครื่องมือนี้คลุมไว้จะสูญเสียความร้อนเป็นจำนวนมาก ทำให้บริเวณนั้นเย็นลงและอาจมีผลกระทบต่อผู้ป่วยได้

ไม่กี่ปีต่อมา ทั้งคู่ได้เพิ่มเซลล์แสงอาทิตย์ที่ด้านบนของเครื่องวัดเพื่อรับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อชดเชยความร้อนที่สูญเสียไปโดยเครื่องวัดให้กับผู้ป่วย

ต่อมา พวกเขาได้สร้างเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiograph, EKG) ในเวลานี้พวกเขาได้สร้างระบบที่สามารถทำความสะอาดได้ ในรุ่นทดสอบก่อนหน้านี้พวกเขาใช้ตัวเก็บประจุ super capacitor ซึ่งทำงานได้ดี แต่เมื่อตัวเก็บประจุนี้ถูกชาร์จ จะทำให้สูญเสียพลังงานเพิ่มเติมจากเครื่อง รุ่นทดสอบหลังจากนี้จึงใช้แบตเตอรี่เป็นตัวเก็บไฟฟ้าแทนซึ่งจะถูกชาร์จไฟจากความร้อนจากร่างกายทันที ลดการสูญเสียพลังงานและทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง ด้วยการนำเครื่องมือหลายรุ่นมารวมกันโดยใช้ระบบเก็บไฟฟ้าที่ฉลาดอาจทำให้เครื่องผลิตไฟฟ้าจากความร้อนของร่างกายนั้นใช้งานได้จริง

ที่ MIT เหล่านักวิจัยกำลังทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของวงจรไฟฟ้าที่สามารถลดเวลาการสร้างพลังงานไฟฟ้าลงจากอุปกรณ์ thermoelectric ในปัจจุบัน Anantha Chandrakasan ผู้อำนวยการของ MIT Microsystems Technology Laboratories และผู้ร่วมงาน Yogesh Ramadass ได้สร้างวงจรอันทรงประสิทธิภาพในเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและยังประกอบด้วยตัวประมวลผลกับวิทยุไร้สาย

นั่นเป็นข้อดีของการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องผลิตไฟฟ้าแบบ thermoelectric ปัจจุบัน thermoelectric สามารถเปลี่ยนพลังงานความร้อนให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ 0.4% ด้วยประสิทธิภาพนี้ ถ้าคุณห่อตัวเองด้วยเครื่องผลิตไฟฟ้าแบบ thermoelectric จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 0.5 วัตต์ แต่คุณจะรุ็สึกเย้นอย่างมากและพลังงานนี้ก็ยังไม่เพียงพอกับโทรศัพท์มือถือเครื่องหนึ่ง จึ่งมีการวิจัยโดยกระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกาและมหาวิทยาลัย California-Berkeley เพื่อพัฒนาเครื่องผลิตไฟฟ้าแบบ thermoelectric ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Peter Hagelstein ศาสตราจารย์จาก MIT ได้เผยแพร่ผลงานในเดือนพฤศจิกายนซึ่งแสดงถึงวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องผลิตไฟฟ้าแบบ thermoelectric ได้ถึง 4 เท่าในทางปฏิบัติและ 9 เท่าตามทฤษฎี อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพต้องสามารถใช้ได้ทุกที่ที่มีการสูญเสียพลังงานเช่น บนกำแพงโรงงานผลิตไฟฟ้าหรือบนฝากระโปรงของรถยนต์ ซึ่งมีบริษัทที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ MIT (บริษัท MTPV) ได้เริ่มต้นทำงานตามแนวคิดของ Hagelstein แล้ว

ในอนาคตอีกไม่ไกลจากนี้ พวกเราจะได้พบกับอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคไร้สายภายในโรงพยาบาลซึ่งคอยตรวจวัดและรายงานผลสัญญานชีพของผู้ป่วย โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่ใช้พลังงานจากร่างกายมนุษย์ แต่ก็ยังคงเป็นเวลาอีกหลายปี

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.forbes.com/2010/06/07/nanotech-body-heat-technology-breakthroughs-devices.html

ผลิตเอธานอลด้วยซูเปอร์ยีสต์

ยีสต์ทำขนมปังสายพันธุ์ใหม่ Saccharomyces cerevisiae ถูกพัฒนาขึ้นโดยสามารถใช้หมักทำน้ำตาลเพนโทสได้อย่างมีประสิทธภาพ และสามารถพบได้ในวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรและไม้เนื้อแข็ง

กลุ่มนักวิจัยได้เขียนผลงานนี้ลงใน BioMed Central ในหมวดวารสาร Biotechnology for Biofuels อธิบายถึงการสร้าง S. cerevisiae สายพันธุ์ใหม่ TMB3130 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของอัตราการเกิดเชื้อและความเข้มข้นของชีวมวลในตัวอย่างน้ำตาลที่ประกอบด้วยน้ำตาลเพนโทส 2ตัว, ไซโลส และ อราบิโนส

Marie Gorwa-Grauslund แห่งมหาวิทยาลัย Lund ประเทศสวีเดน ทำงานร่วมกับทีมนักวิจัยนานาชาติเพื่อส้รางจุลินทรีย์ชนิดใหม่ เธอกล่าวว่า "ด้วยความรู้ที่ดีที่สุดของเรา สิ่งนี้เป็นรายงานฉับบแรกที่วิเคราะห์หาเอกลักษณ์ของกลไกของโมเลกุลเพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์จากเพนโทสผสมซึ่งได้มาจากการพัฒนาทางวิศวกรรมของ S. cerevisiae สายพันธุ์ใหม่"

ยีสต์ทำขนมปังทั่วไปไม่สามารถใช้หมักน้ำตาลเพนโทสได้ทั้งหมด โดยการใส่ยีนส์ที่จำเป็นที่ได้มาจากเชื้อราหรือแบคทีเรียชนิดอื่น มันก็เป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนพันธุกรรมของสายพันธุ์ที่ไม่สามารถใช้หมักน้ำตาลเพนโทสได้ Gorwa-Grauslund และเพื่อนร่วมงานของเธอได้นำหนึ่งในสายพันธุ์ที่ถูกดัดแปลง TMB3061 และเพาะเลี้ยงมันในของผสมระหว่างน้ำตาลไซโลสและอราบิโนสเพื่อที่จะเลือกกลุ่มสายพันธุ์ที่มีความคงตัวซึ่งสามารถย่อยสลายน้ำตาลเพนโทสได้มากที่สุด

ภาพยีสต์ Saccharomyces cerevisiae สายพันธุ์ปกติจาก DIC microscope ซึ่งเป็นยีสต์
สำหรับทำขนมปังแต่ไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลเพนโทสเป็นแอลกอฮอล์ได้ (ภาพจาก Wikipedia)

เธอกล่าวว่า "เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่สองเพื่อปรับปรุงและพัฒนาจากวัตถุดิบที่ไม่ใช่อาหาร โดยเฉพาะวัตถุดิบที่เป็นแหล่งพลังงานจากการเกี่ยวและวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรเช่น ฟาง ชานอ้อย ใบและซังข้าวโพด ยีสต์ของพวกเราแสดงถึงการก้าวสู่เป้าหมายนี้อย่างมีนัยสำคัญ"

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.sciencedaily.com/releases/2010/06/100614191441.htm
http://www.biotechnologyforbiofuels.com/content/3/1/13
Category: 0 comments

ทำไมมนุษย์จึงไม่มีขน?

ความร้อนอาจเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมพวกขนของพวกเราจึงหายไปและมีลักษณะที่ตรงและบาง

ถ้าบรรพบุรุษของเราอาศัยอยู๋ในบางแห่งที่ร้อนมากๆ ตามทฤษฎีแล้ว มันอาจจะทำให้พวกเรารู้สึกอยากกำจัดขนออกหรือเริ่มมีเหงื่อออก

บางคนมีขนตามร่างกายมาก แต่มนุษย์ส่วนใหญ่มีขนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาวะอากาศที่ร้อน (ภาพจาก Getty Images)

การศึกษาวิจัยใหม่ๆสนับสนุนทฤษฎีที่ว่าความร้อนช่วยผลักดันมนุษย์ให้พัฒนาขึ้น โดยได้แสดงถึงกุญแจสำคัญของการร่อนเร่ของมนุษย์ในแอฟริกาตะวันออกซึ่งเป็นสถานที่ที่ร้อนจัดมากว่า 4 พันล้านปี

"มีบางสิ่งที่ยากจะเข้าใจ" Ben Passey ซึ่งเป็นนักธรณีเคมีของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ใน Baltimore กล่าว "มันดูเหมาะสมที่จะพูดว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นข้อดีที่ได้มาจากการอยู่อาศัยในที่ร้อนกับสิ่งแวดล้อมแบบเปิดกว้าง แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงๆหรือเปล่า?"

เพื่อค้นหาคำตอบ Passey และเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยของเขาได้วิเคราะห์รายละเอียดของตัวอย่างดินจาก Turkana Basin ซึ่งเป็นอาณาเขตที่สามารถทำการศึกษาได้เป็นอย่างดีใน Kenya และ Ethiopia เพราะเป็นแหล่งรวมของฟอสซิลที่เกิดจากมนุษย์และมนุษย์โบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเขากำลังค้นหาน้ำหนักของอะตอมของคาร์บอนและออกซิเจนซึ่งถูกเรียกว่าไอโซโทป (isotopes)

เมื่ออุณหภูมิลดลง เหล่าไอโซโทปที่หายากของคาร์บอนที่ถูกเรียกว่า คาร์บอน-13 มีแนวโน้มที่จะรวมตัวกับไอโซโทปที่หายากของออกซิเจนที่ถูกเรียกว่า ออกซิเจน-18 ในดินเหล่านี้ ความสัมพันธ์ของไอโซโทปจึงบอกได้ว่ากลุ่มก้อนที่พบในตัวอย่างเป็นจำนวนมากแสดงว่าตัวอย่างนั้นมีอุณหภูมิที่เย็นกว่า

ผลการวิเคราะห์ถูกเผยแพร่ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences แสดงให้เห็นว่าฝุ่นดินที่อยู่ใน Turkana Basin มีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 85 - 95 องศาฟาเรนไฮต์ มามากกว่า 4 พันล้านปี ซึ่งดินได้ดูดซับความร้อนจากอากาศ นั่นหมายความว่าเขตที่ศึกษานี้มีความร้อนสูงมาเป็นระยะเวลานานแล้ว

ปัจจุบันนี้ อุณหภูมิของอากาศใน Turkana Basin เกินกว่า 100 องศาฟาเรนไฮต์ Passey กล่าว ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่เลวร้ายในช่วงปี ค.ศ. 70 อุณหภูมิอยู๋ในช่วงปานกลางระหว่างช่วงกลางปี ค.ศ. 80 ทั้งหมดในรอบปี พื้นดินกระจัดกระจายไปด้วยกอหญ้าและพุ่มไม้

"ความร้อนนี้ช่างเลวร้ายยิ่งนัก" เขากล่าว "คุณคงจะคิดว่า พระเจ้า มันร้อนขนาดนี้มนุษย์คงไม่สามารถเกิดการพัฒนาได้ที่นี่ มันควรจะต้องเป็นที่ที่เขี่ยวชอุ่มมากกว่านี้ ผลการวิเคราะห์ของพวกเราบอกว่าเป็นไปไม่ได้ มันร้อนเกินไป"

"ไม่มีคำถามที่ผลลัพธ์นั้นน่าสนใจ" นักมานุษยวิทยาแห่ง Harvard, Daniel Lieberman กล่าว ผู้ซึ่งศึกษาว่าทำไมร่างกายมนุษย์จึงเป็นเช่นปัจจุบัน

สำหรับบางสิ่ง บางจุดพวกเราพัฒนาความสามารถพิเศษเพื่อที่จะควบคุมอุณหภูมิของร่างกายเราในขณะวิ่ง ซึ่งอาจจะช่วยให้คนสามารถล่าเหยื่อในสภาวะที่ร้อนและแห้งแล้งได้ "ยิ่งร้อนมากขึ้น มนุษย์ยิ่งได้เปรียบมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะในขณะวิ่ง"

"ไม่มีใครรู้อย่างแน่ชัดว่าพวกเราคล่องแคล่วในขณะที่เหงื่อออกและขนของพวกเราสูญหายไปเมื่อใด" เขากล่าวเพิ่มเติม "แต่การวิจัยของเขาแสดงหลักฐานที่เด่นชัดว่าสภาพภูมิอากาศมีผลทำให้มนุษย์เกิดการปรับตัวอย่างมากซึ่งเกิดขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว"

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.msnbc.msn.com/id/37640858/ns/technology_and_science-science

ทางเลือกใหม่ ไบโอดีเซลจากจุลินทรีย์


ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงดีเซลทางเลือกที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น น้ำมันจากพืช หรือไขมันจากสัตว์ โดยไบโอดีเซลมีคุณสมบัติที่สามารถย่อยสลายได้เองตามกระบวนการทางชีวภาพ ดังนั้นจึงไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ไบโอดีเซลสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงกับยานพาหนะได้ ซึ่งมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลโดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์แต่อย่างใด

ปัจจุบันไบโอดีเซลถูกใช้กันอย่างแพร่หลายและมีการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการผลิตไบโอดีเซลมากขึ้น อย่างไรก็ตามการขยายการผลิตส่งผลให้ต้องใช้วัตถุดิบจากการเกษตร (เช่น เรฟซีด (Rapeseed), ปาล์ม, ถั่วเหลือง) มากขึ้น ส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้น นักวิจัยกลุ่มหนึ่งจึงได้ค้นหาวิธีผลิตไบโอดีเซลโดยไม่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบจากการเกษตร ซึ่งก็คือเชื้อจุลินทรีย์

Mucor circinelloides (ภาพจาก microbelibrary.org)

จากการวิจัยพบว่า Mucor circinelloides สามารถผลิตน้ำมันได้โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเปลี่ยนเป็นน้ำมันได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านการสกัดแต่อย่างใด ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการผลิตไบโอดีเซลลงได้ ยิ่งไปกว่านั้นเทคนิคการผลิตด้วยตัวเร่งปฏิกิริยานี้ยังเป็นไปตามข้อกำหนดของ American standards และ European standard อีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.physorg.com/news195300956.html
http://pubs.acs.org/stoken/presspac/presspac/full/10.1021/ef9015872
Category: 0 comments

ฟิลเตอร์พอลิเมอร์ประสบความสำเร็จในการกำจัดน้ำมันรั่วในอ่าวเม็กซิโก

เนื่องจากน้ำมันทื่รั่วเป็นปริมาณมหาศาลในอ่าวเม็กซิโก ศาสตราจารย์วิศวกรแห่งมหาวิทยาลัย Pittsburgh ได้พัฒนาวิธีในการแยกน้ำมันออกจากน้ำโดยผ่านฟิลเตอร์ที่ทำมาจากผ้ายและเคลือบด้วยพอลิเมอร์ ซึ่งจะจับน้ำมันเอาไว้แต่ยอมให้น้ำผ่านได้ นักวิจัยกล่าวว่าการทดสอบการใช้ฟิลเตอร์ที่ชายฝั่งในรัฐ Louisiana ประสบความสำเร็จโดยสามารถกักเก็บน้ำมันและทำให้น้ำสะอาดได้ในเวลาเดียวกัน

ภาพแสดงการทดสอบฟิลเตอร์ซึ่งสามารถแยกน้ำมันดิบออกจากน้ำทะเลได้
(ตัวอย่างน้ำและน้ำมันจากอ่าวเม็กซิโก) (ภาพนิ่งตัดต่อจาก Youtube video)

ผู้ช่วยศาตราจารย์ Di Gao และ William Kepler Whiteford และคณะแห่งภาควิชาวิศวกรรมปิโตรเลียมและเคมีแห่ง Pitt's Swanson School of Engineering เป็นผู้สร้างฟิลเตอร์ด้วยวิธีที่เป็นไปได้เพื่อช่วยจัดการการแผ่ขยายของคราบน้ำมันซึ่งเป็นผลมาจากแท่นขุดเจาะ Deepwater Horizon ของบริษัท BP ระเบิดเมื่อวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา Gao ได้เสนอความคิดของเขาผ่านทางเวบไซต์ของ Deepwater Horizon ซึ่งถูกควบคุมดูแลจากบริษัทและหน่วยงานราชการที่คอยดูแลการจัดการกับหายนะที่เกิดขึ้น

ฟิลเตอร์ของ Gao นั้นติดอยู่กับพอลิเมอร์ซึ่งเป็นวัสดุที่ชอบน้ำทั้ง 2 ชนิด โดยเกิดพันธะกับโมเลกุลของไฮโดรเจนในน้ำ และไม่ชอบไขมัน นั่นหมายความว่ามันจะผลักดันน้ำมันออกไป เมื่อพอลิเมอร์ถูกยึดติดกับฟิลเตอร์ที่ทำจากฝ้ายแล้ว มันจะยอมให้น้ำผ่านไปได้แต่น้ำมันไม่สามารถผ่านได้ ฟิลเตอร์นี้ผลิตโดยการจุ่มฝ้ายลงไปใต้สารละลายที่มีพอลิเมอร์อยู่ จากนั้นนำมาทำให้แห้งด้วยการอบหรือผึ่งให้แห้ง Gao อธิบาย

สำหรับบริเวณกว้างใหญ่ของอ่าวเม็กซิโกที่เกิดน้ำมันรั่วนั้น Gao อธิบายว่า อาจต้องใช้ฟิลเตอร์ที่เป็นลักษณะรางน้ำซึ่งจะสามารถลากผ่านน้ำเพื่อจับน้ำมันบนผิวน้ำได้ น้ำมันที่ดักจับได้จะถูกน้ำกลับมาใช้และสามารถน้ำฟิลเตอร์กลับมาใช้ซ้ำได้ ปัจจุบันการกำจัดสิ่งปนเปื้อนบริเวณกว้่างจะใช้ booms เพื่อกวาดล้อมและสารดูดคราบปนเปื้อนหรือ absorbent skimmers เพื่อควบคุมการเกิดไฟไฟม้และการกระจายตัวของสารเคมีซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

สำหรับวิดีโอการทดลองฟิลเตอร์ของ Gao สามารถดูได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=kfRKjiOXVWE


ข้อมูลอ้างอิง

http://www.physorg.com/news195132639.html

http://www.sciencedaily.com/releases/2010/06/100607122446.htm

Graphene อิเล็คโทรนิคแห่งอนาคต

โมเลกุลอินทรีย์ซึ่งถูกพบว่ามีประโยชน์ในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคที่ใช้ซิลิกอนเป็นส่วนประกอบอาจจะสามารถใช้เพื่อสร้างวงจรอิเล็กโทรอนิคบนแผ่นคาร์บอนที่มีความหนาเพียงหนึ่งโมเลกุลเท่านั้น นักวิจัยของสถาบัน Max Plank ส่วนการวิจัยโลหะ ใน Stuttgart รายงานถึงความก้าวหน้าในวารสารออนไลน์ Journal Physical Review B ในวันที่ 1 มิถุนายน

Dophant ถูกจับตัวอยู่บนแผ่น graphene ซึ่งเป็นวิธีในการพัฒนาคุณสมบัติเพื่อใช้สำหรับ
อุปกรณ์อิเล็กโทรนิคที่มีขนาดเล็กและบางเป็นพิเศษ (ภาพจาก American Physical Society)

แผ่นคาร์บอนที่บางเป็นพิเศษนี้รู้จักกันในชื่อว่า graphene เป็นพื้นฐานสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคที่มีขนาดเล็ก แต่เพื่อสร้างเป็นองค์ประกอบที่มีประสิทธิภาพนั้น คุณสมบัติทางอิเล็กโทรนิคของซิลิกอนหรือ graphene จะต้องผ่าน กระบวนการโด๊ป (Doping) เสียก่อน โดยปกติแล้ว อุปกรณ์ที่ใช้ซิลิกอนเป็นส่วนประกอบจะถูกโด๊ปเพื่อเคลื่อนย้ายอะตอมในโครงผลึกซิลิกอนด้วยอะตอมหรือโมเลกุลของสารเจือปน (Dophant) แต่ใน graphene นั้นตรงกันข้าม สารเจือปนจะถูกจับไว้บนสุดของแผ่นคาร์บอนมากกว่าที่จะแทนที่อะตอมของคาร์บอนบางอะตอม ธาตุบางชนิดเช่น ทองคำ, บิสมัท และ ไนโตรเจนไดออกไซด์ จะใช้สำหรับโด๊ป graphene ด้วยระดับความสำเร็จที่แตกต่างกัน ในตอนนี้นักวิจัยของสถาบัน Max Plank ยังได้ค้นพบสารประกอบ F4-TCNQ (tetrafluoro-tetracyanoquinodimethane) ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ต่อการผลิต LED ซิลิกอนซึ่งดูเหมือนว่าจะเหมาะสมกับ graphene ทีเดียว

F4-TCNQ เป็นรูปแบบที่คงตัวบนขั้นของ graphene ที่ค่อนข้างมีความคงทนภายใต้สภาวะความร้อนและแสงระดับสูง และสามารถควบคุมคุณสมบัติทางไฟฟ้าของ graphene ซึ่งมันอาจเป็นตัวเลือกหนึ่งของ dophant ที่ดี

ปัจจุบันนักวิจัยสามารถสร้างทรานซิสเตอร์จากแถบของ graphene ได้เท่านั้น แต่รูปทรงที่ยาวทำให้ความนำไฟฟ้าได้ไม่เต็มที่ นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย Manchester ในสหราชอาณาจักร Novoselov และผู้ร่วมงานได้ตัดแถบเพื่อให้ขนาดของมันสามารถควบอิเล็กตรอนในเชิงควอนตัม ได้ (Quantum confine electron) พวกเขาได้ใช้วิธีการตัดโดยใช้ลำอิเล็กตรอนและกระตุ้นพลาสมาในการทำแผ่น grahene ขนาดเล็กจากแผ่นใหญ่ Novoselov กล่าวว่า "เราสามารถแสดงให้เห็นว่าสามารถสร้างทรานซิสเตอร์โดยใช้ Graphene quantum dot และมันยังสามารถทำงานได้ที่อุณหภูมิห้องอีกด้วย"

แถบ graphene ที่นำไฟฟ้าได้สูงขึ้น (ภาพจาก physicsworld.com)

Andre Geim หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่าพวกเขาสามารถสร้างทรานซิสเตอร์ที่มีขนาดเล็กเพียง 10 นาโนเมตรซึ่งอาจจะเล็กลงถึง 1 นาโนเมตรได้ในอนาคต

ข้อมูลอ้างอิง

http://esciencenews.com/articles/2010/06/01/doping.graphene

http://physicsworld.com/cws/article/news/33832
http://www.vcharkarn.com/vnews/143052

แถบกระดาษตรวจสอบหมู่โลหิต

แพทย์ผู้ตรวจสอบหมู่โลหิตสามารถทำงานได้รวดเร็วและง่ายขึ้นในอนาคต
ด้วยแถบกระดาษตรวจสอบหมู่โลหิต (ภาพจาก iStockphoto/Alexander Raths)

นักวิทยศาสตร์ได้พัฒนาแถบกระดาษตรวจสอบหมู่โลหิตซึ่งสามรถทำการตรวจสอบได้ทันที โดยที่ใช้ต้นทุนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

การทดสอบใช้วิธีหยดเลือดลงบนแถบกระดาษ ตามที่ปรากฎในวารสาร ACS Publications ผู้เขียนได้กล่าวว่าอาจเป็นประโยชน์ในประเทศกำลังพัฒนา

Gil Garnier และทีมงานอธิบายถึงวิธีการตรวจสอบหมู่โลหิตของผู้ป่วยซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญต่อความสำเร็จในถ่ายเลือดให้กับผู้ป่วย ซึ่งจะสามารถช่วยชีวิตคนได้นับล้านคนทั่วโลก ปัจจุบันการตรวจสอบหมู่โลหิตต้องใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนซึ่งยังไม่มีในประเทศที่ยากจน ดังนั้นชุดตรวจสอบแบบพกพานี้จึงสามารถแก้ปัญหานี้ได้เป็นอย่างดี

นักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายถึงการพัฒนากระดาษตรวจสอบหมู่โลหิตต้นแบบโดยการใช้ Antibody เพื่อตรวจสอบ Antigens ในแต่ละหมู่โลหิต โดยใช้โลหิตจากอาสาสมัคร พบว่าหยดเลือดที่ถูกหยดลงบนแถบกระดาษที่มี Antibody ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีซึ่งสามารถบ่งบอกหมู่โลหิตได้ ผลที่ได้มีความถูกต้องเทียบเท่ากับวิธีตรวจสอบหมู่โลหิตแบบปกติ

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.sciencedaily.com/releases/2010/06/100602121200.htm
http://pubs.acs.org/doi/abs/10.1021/ac100341n

อำลากระสวยอวกาศแอตแลนติส

กระสวยอวกาศแอตแลนติสขณะลงจอด (ภาพจากองค์การนาซา)

กระสวยอวกาศแอตแลนติส (space shuttle Atlantis) พร้อมด้วยนักบินอวกาศอีก 6 คน ได้เดินทางกลับถึงโลกและลงจอดอย่างปลอดภัย ณ Kennedy Space Center ของนาซ่า รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2553 เมื่อเวลา 08.48 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม 2553 19.48 น.ตามเวลาในไทย

แอตแลนติสถือเป็นยานลำ ที่ 4 ของโครงการยานขนส่งอวกาศขององค์การบริหารการบินและอวกาศสหรัฐ (นาซา) โดยได้รับการสร้างขึ้นต่อจาก ยานโคลัมเบีย ยานชาลเลนเจอร์ และ ยานดิสคัฟเวอรี (ไม่นับรวม ยานเอ็นเตอร์ไพรส์ ที่เป็นยานต้นแบบไม่สามารถนำบินขึ้นสู่อวกาศได้ และ ยานเอนเดฟเวอร์ ที่สร้างขึ้นต่อมาเป็นลำสุดท้าย) แอตแลนติสออกบินทดสอบครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2528 และบินขึ้นสู่ห้วงอวกาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2532


รูปกระสวยอวกาศแอตแลนติสขณะเตรียมติดตั้งโมดุลเข้ากับสถานีอวกาศนานาชาติ
(ภาพจาก Wikipedia)

เอพีระบุว่าแอตแลนติสซึ่งเป็นกระสวยอวกาศลำดับที่ 4 ของนาซานั้นได้ปิดภารกิจของตัวเองด้วยสถิติขึ้นไปอยู่ในวงโคจร 294 วัน โคจรรอบโลก 4,648 รอบ ขนส่งนักบินอวกาศ 189 คน ไปเยือนสถานีอวกาศนานาชาติทั้งสิ้น 11 ครั้ง และเคยขึ้นไปเยือนสถานีอวกาศมีร์ (Mir) ของรัสเซีย 7 ครั้ง รวมถึงไปเยือนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) ด้วย 1 ครั้ง และในเที่ยวบินทิ้งทวนที่มีลูกเรือเป็นชายล้วนนี้ได้เพิ่มระยะทางอีก 7.7 ล้านกิโลเมตร ให้กับการเดินทางของกระสวยอวกาศตลอด 25 ปีเป็น 194.2 ล้านกิโลเมตร โดยมีเที่ยวบินทั้งหมด 32 เที่ยว

จากนี้นาซาเหลือเที่ยวบินของกระสวยอวกาศเพียงสองครั้ง โดยเป็นกระสวยอวกาศอีกสองลำอื่นที่เหลือ แต่แอตแลนติสจะเฝ้าอยู่เพื่อเป็นยานช่วยเหลือฉุกเฉินให้กระสวยอวกาศเที่ยวสุดท้าย จากนั้นจะถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สักแห่ง

ยานสองลำสุดท้ายนั้นคือยานดิสคัฟเวอรีซึ่งจะเดินทางเที่ยวสุดท้ายในเดือนกันยายนนี้ ส่วนยานเอนเดฟเวอร์จะเดินทางเที่ยวสุดท้ายในเดือนพฤศจิกายน ปิดฉากการใช้งานยานกระสวยอวกาศอย่างสมบูรณ์

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.narit.or.th/
http://www.komchadluek.net/
http://en.wikipedia.org/wiki/Space_Shuttle_Atlantis
http://www.spacethai.net/content/view/263/1/
Category: 0 comments

ส่วนหนึ่งของเราอาจมาจากมนุษย์ "นีอันเดอร์ทัล"

ภาพจำลองมนุษย์นีอันเดอร์ทัล (ภาพประกอบจาก American Museum of Natural History)

งานวิจัยชิ้นล่าสุดของทีมวิจัยนานาชาติ นำโดย "สวานเต ปาโบ" จากสถาบันวิวัฒนาการและมานุษยวิทยา แมกซ์ พลังก์ (Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology) ที่เผยแพร่ในวารสารไซน์ (Science) ฉบับเมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา เผยข้อมูลที่บอกให้เรารู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ยุคปัจจุบัน และเผ่าพันธุ์นีอันเดอร์ทัล

ริชาร์ด กรีน หนึ่งในทีมวิจัยถอดรหัสจีโนมนีอันเดอร์ทัล โชว์ฟอสซิลกะโหลกและ
กระดูกของมนุษย์นีอันเดอร์ทัล (ภาพประกอบจาก AFP)

ทีมวิจัยได้สกัดตัวอย่างดีเอ็นเอ จากโครงกะดูกมนุษย์นีอันเดอร์ทัลอายุ 4 หมื่นปี จำนวน 3 ร่าง ที่พบในถ้ำแห่งหนึ่งของประเทศโครเอเชีย และถอดรหัสจีโนมที่มีมากกว่า 3 ล้านรหัส (นิวคลีโอไทด์) และเมื่อเปรียบเทียบกับจีโนมของมนุษย์ยุคปัจจุบัน พบว่าชาวยุโรปและเอเชียมีจีโนมเหมือนนีอันเดอร์ทัลประมาณ 1-4%

ต้นกำเนิดนีอันเดอร์ทัล

ภาพแสดงเผ่าพันธุ์ต่างๆของมนุษย์

นีอันเดอร์ทัล หรือ โฮโม นีอันเดอร์ทัลเอนซิส (Homo neanderthalensis) คือมนุษย์สปีชีส์หนึ่งในสกุลโฮโม (Homo) ที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่มีวิวัฒนาการใกล้ชิดกับ โฮโม ซาเปียนส์ (Homo sapiens) สปีชีส์ของมนุษย์ยุคใหม่ หรือมนุษย์ยุคปัจจุบันมากที่สุด โดยมีบรรพบุรุษร่วมกันอยู่ในแอฟริกาเมื่อประมาณ 5 แสนปีก่อน

ฟอสซิลของนีอันเดอร์ทัลถูกพบครั้งแรกเมื่อปี 2372 ในเมือง Engis ประเทศเบลเยียม และต่อมาในปี 2391 พบฟอสซิลเพิ่มเติมอีกในเขตยิบรอลตาร์ ทว่าในขณะนั้นยังไม่มีใครรู้ว่าโครงกระดูกมนุษย์โบราณที่พบนั้นเป็นมนุษย์ อีกสปีชีส์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว กระทั่งการค้นพบฟอสซิล "นีอันเดอร์ทัล 1" (Neanderthal 1) อายุ 4 หมื่นปี ในประเทศเยอรมนี เมื่อปี 2399 และได้รับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้เมื่อปี 2407 หลังจากนั้นก็มีการค้นพบฟอสซิลนีอันเดอร์ทัลเพิ่มขึ้นในหลายประเทศทั้งใน ยุโรป และตะวันออกกลาง

ข้อสงสัยในต้นกำเนิดที่แท้จริง


จากหลักฐานการค้นพบซาก ดึกดำบรรพ์ทำให้เราทราบว่า ต้นตระกูลมนุษย์อย่างเราๆ ซึ่งก็คือมนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon) ในช่วงที่ได้เดินทางอพยพเขามาถึงยุโรป ก็ได้มีการบุกรุกเข้าไปในเขตของมนุษย์นีอันเดอร์ทัล ซึ่งได้อาศัยอยู่ทางตะวันตกของทวีปเอเชียเมื่อประมาณ 45,000 ปีมาแล้ว เมื่อเวลาผ่านมาเพียงแค่ 10,000-15,000 ปี เท่านั้นมนุษย์โครมันยองก็ได้แพร่กระจายไปจนทั่วยุโรปตะวันตกและในช่วงเลานี้เองที่มนุษย์นีอันเดอร์ทัล ได้สูญหายจากไปจากโลกใบนี้ คำถามที่ยังถกเถียงกันอยู่จากเหตุการณ์นี้ก็คือ มนุษย์ในยุคปัจจุบันมียีนของมนุษย์นีอันเดอร์ทัล หลงเหลืออยู่หรือไม่

ในปี 1998 ฝ่ายที่สนับสนุนและเชื่อว่ามีการผสมข้ามสายพันธุ์กันก็ชูประเด็น ในเรื่องการค้นพบโครงกระดูกเด็กผู้ชายในประเทศโปรตุเกส ซึ่งโครงกระดูกนี้มีลักษณะร่วมกันของมนุษย์โครมันยองและมนุษย์นีอันเดอร์ทัล และเมื่อทำการตรวจสอบอายุก็พบว่ามีอายุประมาณ 24,500 ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มนุษย์นีอันเดอร์ทัล ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว และแล้วสิ่งที่จะช่วยพิสูจน์ในเรื่องนี้ได้ก็น่าจะเป็นการพิสูจน์ดีเอ็นเอ แต่ก็ยังมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับทฤษฎีเกี่ยวกับการผสมข้ามพันธุ์ใน เรื่องนี้กันอยู่

มีการนำดีเอ็นเอในไมโทคอนเดรียของมนุษย์นีอันเดอร์ทัล และมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันมาเปรียบเทียบกันก็พบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างชัดเจน แต่คนที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ก็ยังเชื่อว่าระยะเวลา 30,000 ปีที่ผ่านมาของการวิวัฒนาการจะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเอเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นการเปรียบเทียบจริงๆ ควรทำการเปรียบเทียบดีเอ็นเอของทั้ง 3 กลุ่ม คือ มนุษย์ปัจจุบัน, นีอันเดอร์ทัล, และโครมันยอง

เมื่อเห็นพ้องต้องกันว่าต้องเปรียบเทียบดีเอ็นเอในไมโทคอนเดรียของทั้ง 3 กลุ่ม ต่อมาก็เลยทำการเปรียบเทียบดีเอ็นเอโดยนำดีเอ็นเอของชาวยุโรป 60 คน, ที่ไม่ใช่คนยุโรปอีก 20 คน, มนุษย์นีอันเดอร์ทัล 4 คน, มนุษย์โครมันยอง 3 คน (1 ตัวอย่างมาจากออสเตรเลีย มีอายุประมาณ 40,000 ปี และอีก 2 ตัวอย่างมาจากอิตาลี)

ผลการทดลองเปรียบเทียบพบว่าดีเอ็นเอในไมโทคอนเดรียของมนุษย์นีอันเดอร์ทัล จะแตกต่างจากมนุษย์ปัจจุบัน 23-28 คู่เบสต่อการทดสอบ 360 ครั้ง ซึ่งความแตกต่างเท่านี้ก็พอจะทำให้แยกมนุษย์ทั้ง 2 กลุ่มออกจากกันได้โดยเด็ดขาด แต่ดีเอ็นเอในไมโทคอนเดรียมนุษย์โครมันยองและมนุษย์ในยุคปัจจุบันกลับมีลักษณะที่คล้ายกันแยกออกจากกันได้ไม่ชัดเจน จากจุดนี้เองที่ทำให้ เกิดข้อคัดค้านว่ามนุษย์นีอันเดอร์ทัล ไม่ได้เป็นต้นตระกูลของมนุษย์ในปัจจุบัน

มีข้อโต้แย้งที่ว่า hominids (สิ่งมีชีวิตตระกูลคน ได้แก่ มนุษย์ และลิงไม่มีหาง) ทั้ง 2 สายพันธุ์ คือมนุษย์โครมันยองและมนุษย์นีอันเดอร์ทัล มาอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ติดต่อถึงกัน โดยธรรมชาติแล้วก็น่าจะมีการผสมข้ามสายพันธุ์กันเกิดขึ้น

แม้ว่ากำเนิดที่แท้จริงของมนุษย์ยุคปัจจุบันจะยังไม่กระจ่างชัด แต่จากหลักฐานฟอสซิลและหลักฐานทางพันธุศาสตร์ ทำให้ทฤษฎี "ออกจากแอฟริกา" (Out of Africa) ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ มากกว่าทฤษฎีที่ว่า มนุษย์ยุคใหม่วิวัฒนาการขึ้นพร้อมๆ กันทั่วโลก (Multiregional)

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามนุษย์ยุคใหม่สืบเผ่าพันธุ์โดยตรงมาจาก ออ สเตรโลพิเทคัส แอฟริกานัส (Australopithecus africanus) ที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 2-3 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของ โฮโม อีเรกตัส และต่อมาแตกสายวิวัฒนาการเป็น โฮโม นีอันเดอร์ทัล และ โฮโม ซาเปียนส์ ซึ่งเป็นสปีชีส์เดียวในสกุลโฮโมที่ยังมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบัน

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000065820
http://www.ipst.ac.th/biology/Bio-Articles/mag-content15.html
http://nexian07.blogspot.com/

Nano Flakes อาจทำให้เกิดการปฏิวัติเซลล์แสงอาทิตย์

วัสดุใหม่ Nano Flakes อาจปฏิวัติการแปลงพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ อีกทั้งยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ในอนาคต

พลังงานไฟฟ้าบนโลกที่มาจากพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ปัจจุบันยังต่ำกว่า 1% เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงพลังงานนั้นค่อนข้างยาก แต่การค้นพบของ Martin Aagesen อาจทำให้การใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ขยายตัวเพิ่มขึ้น

"พวกเราเชื่อว่า Nano Flakes มีศักยภาพในการแปลงพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ถึง 30% ซึ่งเป็น 2 เท่าของปริมาณไฟฟ้าที่เซลล์แสงอาทิตย์ในปัจจุบันทำได้ Martin Aagesen ผู้ได้รับปริญญาเอกจาก Nano-Science Center และ the Niels Bohr Institute at University of Copenhagen กล่าว ในช่วงที่เขาศึกษาวิจัยในระดับปริญญาเอกนั้น เขาได้พบวัสดุใหม่ "ผมได้ค้นพบโครงร่างผลึกที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งพบได้ยากมาก ในขณะที่เกิดการก่อตัวของโครงร่างผลึกนั้น พวกเราได้พบว่ามันสามารถดูดกลืนแสงได้ทั้งหมด มันอาจกลายเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ที่สมบูรณ์แบบ" เขากล่าว การค้นพบวัสดุใหม่ของเขาจุดประกายความสนใจมากในต่างประเทศและนำไปสู่บทความในวารสาร Nature Nanotechnology

Martin Aagesen ซึ่งเป็นกรรมการของ บริษัท SunFlake และผู้ติดตามการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ใหม่กล่าวว่า "อาจเป็นที่แน่นอนว่า เราสามารถลดต้นทุนการผลิต Solar Cells ลงได้เพราะว่าเราใช้สารกึ่งตัวนำในปริมาณที่ลดลงเนื่องจากการใช้นาโนเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันในอนาคตจะมีการใช้ประโยชน์จากเซลล์แสงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้น ระยะทางในการส่งพลังงานในเซลล์แสงอาทิตย์จะสั้นลง ทำให้ลดการสูญเสียพลังงานได้มากขึ้น"

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.sciencedaily.com/releases/2007/12/071218105420.htm
http://nano.ku.dk/english/study/PhD/martin_aagesen/
Category: 0 comments

หุ่นยนต์สมองชีวภาพตัวแรกของโลก


นักวิจัยได้สร้างสมองชีวภาพจากเซลล์ประสาทของหนู โดยการสั่งงานจากเซลล์ประสาทที่ได้จากสมองของหนูทำให้หุ่น ยนต์นี้เคลื่อนที่ นักวิจัยกล่าวว่าด้วยการทดลองนี้อาจทำให้เราเข้าใจการสั่งการของเซลล์สมอง ได้ และอาจนำไปสู่การค้นหาสาเหตุของโรค Alzheimer และ Parkinson ได้

เซลล์สมองของหนูนั้นถูกบรรจุไว้ในกระเปาะเล็กๆที่ปลอด เชื้อ ซึ่งมีอุณหภูมิเท่ากับร่างของหนู ภายในประกอบไปด้วยเซลล์จำนวนมากถึง 300,000 เซลล์ โดยเซลล์ประสาทจะส่งสัญญาณทางไฟฟ้าผ่านทางงจรไฟฟ้าที่เรียกว่า Multi Electrode Array (MEA) และสัญญาณจะถูกแปลผลเป็นการเคลื่อนที่ของตัวหุ่นยนต์

เซลล์ประสาทถูกติดตั้งไว้ภายใต้วงจรไฟฟ้าที่เรียกว่า Multi Electrode Array (MEA)
ซึ่งนักวิจัยไดเพัฒนาให้สามารถเชื่อมโยงกัน โดยขั้วไฟฟ้าที่ฝังตัวในเซลล์จะทำหน้าที่
บันทึกสัญญาณไฟฟ้าที่ไม่ต่อเนื่องที่มาจากเซลล์ประสาท


ภาพจากกล้องจุลทรรศน์ : เซลล์ที่อยู่บนขั้วไฟฟ้าบนวงจร MEA ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยง
สัญญาณไฟฟ้าจะถูกบันทึกโดยขั้วไฟฟ้า (วงกลมสีดำ)


นักวิจัยกล่าวว่าหุ่นยนต์ซึ่งถูกตั้งชื่อว่า Gordon สามารถเรียนรู้การเคลื่อนที่ด้วยตัวเองได้ โดยเมื่อหุ่นยนต์เคลื่อนที่ชนกำแพง เซ็นเซอร์จะส่งสัญญาณและแปลผลกลับไปยังเซลล์สมอง เพื่อเรียนรู้การหลบหลีกสิ่งกีดขวาง นาย Kevin Warwick กล่าวว่าหุ่นยนต์ Gordon สามารถหลีกเลี่ยงการชนกำแพงได้ 8 ใน 10 ครั้ง

นักวิจัยมีแผนที่จะทำลายความจำของ เซลล์สมองเพื่อสร้างสภาวะเช่นเดียวกับในโรค Alzheimer และ Parkinson เพื่อศึกษาการเสื่อมสภาพหรือการตายของเซลล์สมองว่ามีผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งอาจนำไปสู่การค้นพบสาเหตุของโรค ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

ข้อมูลอ้างอิง

http://blogs.discovermagazine.com/80beats/2008/08/14/rat-neurons-build-a-biological-brain-for-a-robot/

http://www.automatesintelligents.com/labo/2008/aou/gordon.html

น้ำมันรั่วในอ่าวเม็กซิโก


จากเหตุการณ์แท่นขุดเจาะน้ำมัน ดีพวอเตอร์ ฮอริซอน (Deepwater Horizon) ของบริษัทบีพีระเบิด นอกจากส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 11 ราย ยังทำให้มีน้ำมันรั่วไหลออกมาอย่างต่อเนื่องมากถึง 1,000 บาเรล ต่อวัน นอกจากนี้ยังพบน้ำมันรั่วพวยพุ่งอยู่ใต้ทะเลจำนวนมาก จากบ่อที่ลึกลงไป 1.6 กิโลเมตร หนึ่งในนั้นเป็นทางยาวถึง 16 กิโลเมตร กว้าง 5 กิโลเมตร และหนา 91 เมตร ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์และสิ่งแวล้อมอย่างร้ายแรง

ภาพแสดงบริเวณการกระจายตัวของน้ำมันในอ่าวเม็กซิโก

ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต

เมื่อขนสัตว์ซึ่งปกติ จะกันน้ำ (ทำให้สัตว์ลอยน้ำได้และรักษาอุณหภูมิของร่างกาย) ถูกน้ำมันเปื้อนจะจับกันเป็นก้อน ทำให้น้ำซึมเข้าถึงผิวหนัง มีผลให้สัตว์ไม่สามารถรักษาอุณหภูมิของร่างกายได้ จึงหนาวตาย (เนื่องจากอุบัติเหตุเหล่านี้มักเกิดในต่างประเทศเขตหนาว เช่น แคนาดา อเมริกาเหนือหรืออาจเกิด overheat ถ้าเกิดในเขตร้อน) และอาจทำให้สัตว์จมน้ำตายได้

สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ

นอกจากนั้นคราบน้ำมันยังอาจอุดตันจมูก ปาก หรือระคายเคืองตาได้ และในภาวะดังกล่าว สัตว์ผู้ล่าก็จะล่าสัตว์เหล่านี้ได้โดยง่าย (แต่หมายถึงได้กินอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษ) สัตว์น้ำที่ปนเปื้อนน้ำมันจะมีสารพิษในตัว เมื่อสัตว์ผู้ล่ากินเข้าไปก็จะได้รับสารพิษ และสัตว์ที่ปนเปื้อนมักมีกลิ่นน้ำมันทำให้ผู้ล่าไม่กิน เกิดภาวะขาดอาหาร

หายนะทางสิ่งแวดล้อมที่อาจจะตามมาจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วจากวาล์วใต้น้ำใน อ่าวเม็กซิโกจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนกลัว มีความพยายาม ทุกวิถีทางที่จะกำจัดคราบน้ำมันให้หมดไป สถาบันวิจัย SINTEF ในประเทศนอร์เวย์กำลังช่วยทางการสหรัฐประมาณการเคลื่อนไหวของคราบน้ำมัน

แนวทางในการกำจัดคราบน้ำมัน

1. ใช้ บูม กั้น (Boom เป็นทุ่นลอยน้ำยาว ๆ) หยุดการรั่วไหล ปิดล้อมไม่ให้คราบน้ำมันแผ่กระจาย


2. ใช้ปั้ม Skimmer (เป็นเครื่องสูบน้ำแบบลอยได้) ทำการสูบถ่ายคราบน้ำมันที่ลอยอยู่เหนือผิวนน้ำ


3. ใช้ Oil Dispersant การฉีดพ่นน้ำยากำจัดคราบน้ำมัน ที่ชายฝั่ง โดยทางเรือ หรือทางเครื่องบิน เพื่อทำให้น้ำมันแยกเป็นอณูเล็ก ๆ เพื่อให้จุลินทรีย์ในทะเลเป็นตัวย่อยสลาย

ภาพแสดงกลไกการเกิดปฏิกิริยาของ Oil Dispersant
ซึงทำหน้าที่เป็น Surfactant โดยด้านหนึ่งของโมเลกุลซึ่งไม่มีขั้วจะจับน้ำมันไว้
ส่วนอีกด้านจะจับกับโมเลกุลของน้ำ โดย
Oil Dispersantหลายๆโมเลกุลจะล้อมโมเลกุล
ของน้ำมันไว้ จึงทำให้หยดน้ำมันมีขนาดเล็กลง


นอกจากนี้อาจใช้หลายๆวิธีพร้อมกันในกรณีที่มีน้ำมันรั่วไหลออกมาเป็นปริมาณมาก

การใช้ Boom และ Skimmer เพื่อกำจัดน้ำมันพร้อมกัน


ซึ่งนาย Mark Reed ผู้จัดการของสถาบัน SINTEF กล่าวว่า หนึ่งในวิธีที่ทางการสหรัฐได้เลือกใช้คือการใช้สารเคมีกำจัดคราบน้ำมัน (Oil Dispersant) สารเคมีที่ว่านี้เป็นสารลดแรงตึงผิวประเภทเดียวกับสบู่ ตัวสารจะทำให้คราบน้ำมันกระจายตัวออกเป็นอณูเล็กๆในห้วงน้ำ และจมลงสู่ก้นทะเลก่อนที่จะถึงชายฝั่ง

ล่าสุด บีพีประสบความสำเร็จในการส่งหุ่นยนต์ลงไปสอดท่อขนาดเล็กเข้าไปในท่อขนาด 21 นิ้ว เพื่อสูบน้ำมันรั่วจากบ่อขึ้นไปเก็บไว้บนเรือ ซึ่งอยู่บนผิวน้ำ

ข้อมูลอ้างอิง

http://www.treehugger.com/files/2010/05/bp-gulf-oil-spill-timeline.php
http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2006/11/X4914711/X4914711.html
http://www.vcharkarn.com/vnews/153062
http://zoowildlifevet.com/?p=62
http://thairecent.com/Breaking/2010/647880/

Kew Gardens สวนมหัศจรรย์


สวนนี้อยู่ในประเทศสหราชอาณาจักร มีชื่อเต็มๆว่า The Royal Botanic Gardens, Kew ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงลอนดอน อยู่ติดกับแม่น้ำเทมส์ ประวัติของสวนแห่งนี้ เดิมทีเป็นสวนดอกไม้ของเจ้าหญิง Augusta พระมารดาพระเจ้าจอร์จที่ 3 เดิมมีพื้นที่เพียง 9 เอเคอร์ รอบๆพระราชวังคิว ปัจจุบันมีพื้นที่ 132 เอเคอร์ ภายในมีสวนพรรณพืชและดอกไม้ แบ่งเป็นส่วนๆคือ

Palm House ซึ่งจะปลูกพืชในเขตร้อนชื้น

Princess of Wales Conservatory เป็นส่วนที่ปลูกพืชในเขตภูมิอากาศที่ต่างกัน 10 ภูมิอากาศ
เช่น กระบองเพชร กล้วยไม้


Temperate House เป็นอาคารกระจก มีต้น Chilean Wine Palm
ปลูกอยู่ตรงกลางอาคารที่มีความสูงที่สุดในโลก


สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับสวนแห่งนี้ก็คือ หอพรรณไม้ (Herbarium) ซึ่งฝนหอพรรณไม้นี้มีพรรณไม้ที่เก็บไว้ใช้ศึกษาทางด้านสมุนไฟรมากกว่า 7 ล้านชิ้น ส่วนใหญ่ถูกอัดแห้งเก็บไว้ในกระดาษพร้อมระบุชื่อวิทยาศาสตร์

ภาพภายในหอพรรณไม้ (Herbarium)

ภาพแสดงพรรณไม้หลายชนิดที่ถูกอัดแห้งลงบนกระดาษ

สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับรายชื่อทางวิทยาศาสตร์ของพรรณไม้ ณ สวนคิว สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.kew.org/wcsp/monocots

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
ภญ.ดร. ชฎา พิศาลพงศ์
สถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม

 

Translate

Blog Archive

Followers